เรื่องน่ารู้

เติมน้ำมัน ปั๊มไหนดี





เมื่อก่อน


> > ใครดูรายการของคุณสัญา คุนากร
> > ได้คุยเรื่องน้ำมันในประเทศไทย ฟังเเล้วช๊อคจริงๆครับเพื่อนๆ
> > ทางคุณสัญาได้เชิญอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงานมาเล่าให้ฟัง
> > ซึ่งผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานในสมัยพลเอกเปรม
> >
> > ได้ฟังท่านเล่าเเล้วผมขนลุก...ครับ
> > ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าเมืองไทยไม่สามารถผลิตนำมันได้เองต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
> > ซึ่งท่านบอกว่าเมืองไทยมีกำลังผลิตได้ 1,000,000 บาร์เรล/วัน(ปตท.)
> > เเละเมืองไทยใช้น้ำมันวันละ 700,000 บาเรล/วัน
> > เเละเมืองไทยส่งออกน้ำมันประมาณ 100,000 บาเรล/วัน

> >
> > ฟังเเล้วเพื่อนคิดยังงัยครับ
> > เเละที่เเย่กว่านั้น..น้ำมันที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศราคาถูกกว่าที่ขายในเมืองไทยหลายบาทถ้าเทียบต่อลิตร
> > ตอนนี้มาเลเซียใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซลประมาณลิตรละ 20 บาทต้นๆ
> > ท่านบอกว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำมันราคาเเพง เพราะว่าอธิบดีหรือผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงพลังงานถือหุ้นบริษัทโรงกลั่น
> > ทำให้ไม่มีการเข้ามาจัดการเเละดูเเล
> > ราคาที่ปรับขึ้นทีละ .50 บาทเป็นการขึ้นจากโรงกลั่นซึ่งราคาที่ปรับขึ้นไม่ได้มาจาก cost ต้นทุน
> > เเต่ป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ โดยอ้างอิงจากตลาดที่ผันผวนมากที่สุด
> > ในที่นี้ท่านยกตัวอย่างตลาดสิงคโปร์ เเต่จริงๆเราซื้อจากตะวันออกกลาง
> >
> > เเละอีกอย่างที่น่าตกใจ ท่านบอกว่าในประเทศไทยมี stock น้ำมัน 2 เดือนเเละหมุนเวียนอย่างนี้เรื่อยๆ
> > พอเวลากระทรวงปรับน้ำขึ้นพวกพ่อค้าเอาน้ำมันใน stock มาปรับขึ้นด้วย
> > คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่
> > ไทยใช้ 700,000 บาเรล/วัน ( 1 บาเรล = 159 ลิตร )
> > 2 เดือนกี่ลิตร ลิตรละ .50 บาท ลองคูณดู
> >
> > บริษัทที่ได้กำไรเยอะมากคือ ปตท เพราะมีโรงกลั่น 5 โรง อีก 2 โรงเป็นของเอกชน
> > รวมในประเทศไทยมีโรงกลั่น 7 โรง เป็นของ ปตท 5 โรง
> > เเล้วท่านสรุปกำไรของปตทในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประมาณปี 2540-2544 ปตท กำไรปีละ 22,000 ล้านบาทครับ
> > ฟังเเล้วเป็นงัยครับพี่น้อง...
> > กำไรเท่ากับงบประมาณ 1 กรมเลยทีเดียว
> >
> > เเละที่สุดยอดกว่านั้น ปี 2545-2550 ปตทกำไรเพิ่มเป็น 50,000ล้านบาท/ปี
> > เเละที่สุดๆ คือ ในปี 2548 กำไร 195,000 ล้านบาท
> > ฟังเเล้วอยากให้ลูกทำงานบริษัท ปตท มั้ยครับเพื่อนๆ
> > กำไรดังกล่าวมาจากอะไรลองคิดดูครับ
> > ประชาชนตาดำๆอย่างเราเสียค่าน้ำมันลิตรละ 36 บาท
> > ถ้าเป็นรัฐบาลก่อนๆ น้ำมันขึ้น 3 บาท รัฐมนตรี นายก ต้องก้นร้อนเเล้ว
> > เเล้วรัฐบาลน ี้ล่ะ..ตอนนี้ขึ้นไปกี่บาทเเล้ว เพื่อนๆลองคิดดูเเล้วกัน
> >
> > ถ้า ปตท ลดกำไรลงเท่ากับ 20,000 ล้านบาท/ปี
> > เเค่นี้เราก็ใช้นำมันลิตร 20 บาทเเล้วครับ
> > (นี่เเหละเหตุผลที่ไม่อยากให้เเปรรูปอุตสาหกรรมพวกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน)
> >
> > นี่คือเหตุผลว่าทำไมพนักงานการไฟฟ้าถึงได้ประท้วงเวลามีการเเปรรูป
> > เพราะมันจะเป็นเหมือนน้ำมัน ซึ่งพอเข้าตลาดหุ้นจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนตามมา
> > อธิบดี รัฐมนตรี เมียอธิบดี เมียรัฐมนตรี ถือหุ้นโรงกลั่น
> > ทำให้ไอ้พวกนี้ไม่เข้าไปดูเเลเเละจัดการอย่างจริงจัง
> > ทำให้น้ำมันเเตะลิตรละ 40 บาทเเล้ว ณ ปัจจุบัน
> >
> >
> > มาร่วมมือกันดีไหม...


ด้วยการเติม esso, shell
และถ้าจะให้ดีกว่านี้..เราต้องร่วมมือกันไม่ซื้อมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้
ถ้าทุกครั้งเราเคยเติม 1000 บาทหรือเต็มถ้ง.. คราวนี้เราจะไม่เติมมากกว่าที่เราจำเป็นต้องใช้
> >
ตัวอย่างเช่น วันนี้จะวิ่ง 30 กม. เราก็เติม 4.5 ลิตรหรือ 200 บาท
จะวิ่งอีก 70 กม. เราก็เติม 10 ลิตรหรือ 400 บาท
จะวิ่งอีก 100 กม. เราก็เติม 14 ลิตรหรือ 500 บาท
> >
อย่าเติมเยอะ...
ไม่ต้องไปตุนเพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะขึ้นราคา
> >
คราวนี้สต็อกน้ำมันในคลังก็จะล้น
เพราะปริมาณที่เคยขายทุกวันก็จะถูกเลื่อนให้ต้องเก็บไปขายในอนาคต
ถ้ามันยังอยากขายก็ต้องลดราคาลงมา ให้มันรู้ว่าไผเป็นไผ
เคยมีคนศึกษากรณีไข่ไก่แพง และได้ลองทำล้กษณะนี้ได้ผลมาแล้ว
> >
สั่งสอนให้บทเรียนมันหน่อย เริ่มลงมือปฏิบัติการได้เลย
ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ขอเพียงช่วยกันกระจายข่าวไปให้มากที่สุด
> >
สามัคคีคือพลัง...
ส่งมาให้อ่านกันเพราะอยากให้ราคาน้ำมันลดลงจริงๆ
พวกเราโดนโอเปครวมหัวขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ก็น่าจะมีมาตรการที่จะต่อสู้ ตอบโต้กลับไปบ้าง
ข้อเสนอนี้ก็น่าจะเป็นข้อเสนอหนึ่งที่ถ้าร่วมกันทำจริงๆ ก็น่าจะแสดงอะไรออกมาได้บ้าง
เครดิต  http://www.civicesgroup.com/forum/topic14088
ที่มา:http://www.postjung.com/men-old/show.php?id=1707

 

กล่องโฟมอันตราย


เตือนใช้โฟมบรรจุอาหารร้อน ระวัง! สารเคมี
กล่องโฟม

         กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนใช้โฟมบรรจุอาหารร้อนจัด โดยเฉพาะอาหารทอดด้วยน้ำมัน เช่น ไข่ดาว ผัดซีอิ้ว ระวังภาชนะหลอมละลายจนอาจเกิดสารก่อมะเร็ง “สไตรีน” ปนเปื้อนอาหาร แนะใช้ถุงร้อนหรือรอให้อาหารเย็นก่อนบรรจุในกล่องโฟม เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ
         ปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป นิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว อย่างไรก็ตามการนำภาชนะ “โฟม” มาบรรจุอาหารร้อนจำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากการสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหาร
ที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
        ทั้งนี้ในส่วนของการควบคุมคุณภาพของภาชนะพลาสติกบรรจุอาหาร ในปัจจุบันนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 111 (พ.ศ.2531) ที่ควบคุมเกี่ยวกับภาชนะพลาสติกบรรจุอาหาร ซึ่งครอบคลุมพลาสติกชนิด โพลิสไตรีน ที่ใช้ในการผลิตภาชนะโฟม โดยได้กำหนดปริมาณสารอันตรายที่อาจจะมีตกค้างอยู่ในเนื้อภาชนะในปริมาณที่ ไม่ก่อ ให้เกิดอันตรายต่อการนำไปใช้งานปกติ ซึ่งจากการสำรวจวิจัยภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าได้มาตรฐานทุกตัวอย่างและจากการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประเภทโฟมที่ใส่ อาหารที่ผู้ผลิต
นำมาตรวจวิเคราะห์เพื่อการรับรองสินค้า ก็พบว่ามีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
        ในส่วนของการใช้งานนั้นปัจจุบันพบว่า มีการนำภาชนะโฟมไปใช้ไม่เหมาะสมกับสภาพอาหาร เช่น นำไปใส่อาหารที่ร้อนจัด หรือนำอาหารที่บรรจุในกล่องโฟมมาอุ่นในเตาไมโครเวฟ ซึ่งหากอุ่นอาหารจนมีความร้อนสูงก็อาจทำให้กล่องโฟมละลาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารให้เหมาะสมกับสภาพของอาหาร เช่น ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัด โดยเฉพาะอาหารทอดด้วยน้ำมัน เพราะสไตรีนจะละลายได้ดีในน้ำมัน ก่อนนำภาชนะโฟมมาใช้ควรกำจัดเศษโฟมที่หลงเหลืออยู่ตามผิวภาชนะออกก่อน หรือใช้ถุงพลาสติกใสรองกล่องโฟมก่อนบรรจุอาหาร สำหรับการอุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟนั้น ควรนำอาหารใส่ภาชนะกระเบื้องเคลือบหรือภาชนะแก้วทนไฟ และไม่ควรนำกล่องโฟมที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการละลายออกมาของสารเคมีที่อาจจะเกิดสารพิษสะสมและเป็น อันตรายต่อสุขภาพ
ข้อมูลจาก...สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
ที่มาจาก...http://phangngacity.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น